วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 14


วันนี้ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20

-  วันนี้นักศึกษาทุกคนรออาจารย์อยู่ที่ห้อง รอได้ซักพัก เเล้วก็มีเพื่อนขึ้นมาบอกว่าให้ไปเอากล้อง VDO เเละขาตั้งกล้องสายไฟ มาถ่ายVDO การเล่านิทานด้วยเทคนิคต่างๆที่พวกเราได้แบ่งกันไว้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่เเล้ว
พอไปเอากล้องมาก็มีพี่กวางที่เขาได้มาสอนในการใช้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เเต่รู้ว่าจะไปค่อยถนัดเท่าไหรเลยให้ กมลวรรณ ศรีสำราญ เพื่อนอีกคนมาช่วยถ่ายVDO ให้แทน เราก็เป็นคนคอยบอกว่า ต้องขยับมาใกล้ๆกันนะ เดินขึ้นมาอีก
-   พอถ่ายกันเกือบเสร้จอาจารย์ก็ได้ขึ้นมาสอนต่อ อาจารย์ไดถามเเละได้บันทึกไว้ว่าใครบ้างที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ เพื่อนทุกคนก็มีทั้งความสามารถแะละไม่มี แต่ทำไมถึงให้อาจารย์ต้องถามย้ำหลายๆรอซึ่งเรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องของตัวเราเอง เราต้องมีข้อมูลที่สุดแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมาถามซ้ำ หรือถามคำ ตอบคำ
-   อาจารย์พูดถึงอาเซียนว่าเราจะสอนอาเซียนให้กับเด้กได้อย่างไร พวกเราต่างก็ร่วมตอบกันทุกคน เช่น การวาดภาพ ระบายสี การร้องเพลง สอนภาษาสื่อออกมาโดยลักษณะท่าทาง การเเสดงออก
-   อาจารย์ก็ได้พูดถึงว่าการเรียนที่มีการปรับปรุงและพัฒนาทำไมนักศึกษาไม่พัฒนาเลยสมุดบันทึกก็ไม่มี การทำงานต้องมีหลักฐาน คะเเนนอาจารย์ให้ทุกคน 100 คะเเนนแต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะสามารถรักษามันไว้มากน้อยเเค่ไหนเอง

 








กลุ่มดิฉันได้เล่านิทานโดย เล่าไปพับไป 

   นิทานมีชื่อเรื่องว่า " ปลาใหญ่กินปลาเล็ก " 

                 ในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ มีฝูงปลาอาศัยอยู่มากมาย  และมีเจ้าปลาตัวใหญ่ตัวหนึ่งนิสัยไม่ดี  โลภมาก  จากนั้นมันได้ออกหากิน  ก็ได้ไปพบกับเจ้าปลาตัวเล็ก จึงเข้าไปแกล้ง และพูดกับเจ้าปลาตัวเล็กว่า เจ้าปลาตัวจิ๋วเจ้าเคยได้ยินคำพังเพย ที่ว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็กไหมละ ห้าห้า ถ้าไม่อยากตายถอยไป   เจ้าปลาเล็กจึงถอยไป
          นับวันเจ้าปลาตัวใหญ่ยิ่งบ้าอำนาจขึ้นทุกวัน   และแล้ววันหนึ่งก็ได้มาชาวประมงมาจับปลาไปกิน  พวกปลาก็ได้ว่ายน้ำหนี      กัน  แต่ในที่สุดเจ้าปลาตัวใหญ่ก็ถูกจับเพราะความที่ตัวใหญ่ จึงถูกจับได้ง่าย  เจ้าปลาตุวเล็กจึงเข้าไปพูดกับเจ้าปลาตัวใหญ่ว่า เจ้าปลาตัวใหญ่  เจ้าได้เป็นอาหารมนุษย์แล้วละ  ข้าดีใจที่ข้าตัวเล็กและอ่อนแอมากกว่าท่าน
                   เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถึงเล็กก็เล็กพลิกขี้หนู   หมายถึงการยอมรับว่าเป็นผู้ที่อ่อนแอกว่า ก็อาจพ่นภัยได้เช่นกัน



























ความรู้ที่ได้รับ
- การจัดประสบการณ์ต้องสอดค้องกับพัฒนาการของเด็และวิธีการเรียนรู้
- วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือการลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และกระทำอย่างอิสระ
อาจารย์ให้เล่านิทานที่แต่ละกลุ่มจับฉลากได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยมีนิทาน เล่าไปฉีกไป
เล่าไปวาดไป เล่าไปพับไป  เล่าไปตัดไป เล่าด้วยเชือก
- อาจารย์ถามความสามารถของนักศึกษา ว่าใครมีความสามารถด้านใดบ้าง

- อาจารย์สอนความรู้สาระที่สอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
             - เด็กมีวิธีการเรียนรูด้วยการประสาทสัมผัสทั้ง 5
             - การเล่น คือ การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างอิสระด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น